ปัจจุบันการทำงานด้วยการกระบวนการสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า BIM นั้น เป็นที่นิยมกันเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนากระบวนการทำงานออกแบบและก่อสร้างของประเทศไทย โดยกระบวนการ BIM ได้จะถูกนำมาใช้ในงานด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรมโครงสร้าง ตลอดจนวิศวกรรมงานระบบ ทั้งในช่วงกระบวนการออกแบบ และในช่วงของกระบวนการก่อสร้าง
กระบวนการของการสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร BIM นั้นเป็นกระบวนการสร้างแบบจำลอง 3 มิติของอาคารขึ้นมาเพื่อช่วยให้เราสามารถเห็นปัญหาและช่วยลดข้อผิดพลาดที่กระบวนการทำงานในลักษณะ 2 มิติในลักษณะเดิมอาจจะไม่สามารถพบได้ง่าย ซึ่งแบบจำลอง BIM มีความสามารถในการแสดงผลของแบบจำลองอาคารให้อยู่ในรูปแบบของมุมมอง (Views) ในลักษณะต่างๆ ที่เหมาะสมตามความต้องการใช้งาน ทั้งในมุมมองผังพื้น รูปด้าน รูปตัด 3 มิติ หรือทัศนียภาพ เป็นต้น และนอกเหนือจากแบบจำลองในรูปแบบของโมเดล 3 มิติแล้ว แบบจำลอง BIM ยังสามารถแสดงผลในรูปแบบของตารางแสดงรายการข้อมูลต่างๆ ได้ เช่น ตารางแสดงพื้นที่ใช้สอย ตารางการถอดปริมาณวัสดุในเรื่องต่างๆ เป็นต้น นั่นแสดงว่า ในแบบจำลอง BIM นั้น จะมีการบันทึกข้อมูลฝังลงไปในแบบจำลองอยู่ด้วย ทำให้แบบจำลองโมเดล BIM ที่พัฒนาขึ้นมีทั้งส่วนประกอบของโมเดลชิ้นส่วนขององค์ประกอบอาคาร และส่วนข้อมูลประกอบขององค์ประกอบนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถนำโมเดล BIM มาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้นกว่ากระบวนการทำงานในลักษณะเดิม และเมื่อมีการพัฒนาโมเดล BIM ขึ้นมาและทำการบันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว แบบจำลองนี้ก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการวิเคราะห์ไปได้ด้วยในครั้งเดียวเลย
กระบวนการ BIM จึงจัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) ที่มีส่วนในกระบวนการออกแบบ การนำเสนองาน ตลอดจนกระบวนการวิเคราะห์ ที่มีลักษณะของการทำงานในแบบของการบูรณาการ (Integrated Process)ขั้นตอนต่างๆ เข้าด้วยกัน จากเดิมที่กระบวนการนี้อาจจะถูกทำงานในแบบแยกส่วนกัน
โมเดล BIM ที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั้น จะสามารถบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินประสิทธิภาพของอาคาร (Building Performance Analysis) ลงไปในแบบจำลองได้ โดยข้อมูลเหล่านี้มักจะเป็นข้อมูลด้านคุณสมบัติขององค์ประกอบอาคารต่างๆ เช่น ค่าคุณสมบัติของวัสดุในการสะสมพลังงานความร้อนไว้ในตัว (Thermal Mass) ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (Thermal Conductivity) ค่าความร้อนจำเพาะ (Specific Heat) ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทรังสีความร้อน (Emissivity) ซึ่งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เหล่านี้ซอฟท์แวร์ BIM จะให้ผู้ใช้สามารถบันทึกได้ในแบบจำลอง BIM ได้
โดยในกระบวนการสร้างแบบจำลอง BIM เพื่อการประเมินประสิทธิภาพของอาคารในระบบ BIM นั้น ผู้ใช้จะต้องทำการบันทึกข้อมูลลงไปในแบบจำลองในด้านต่างๆ โดยประกอบด้วย ข้อมูลสภาพอากาศ (Weather Data) ข้อมูลวัสดุอาคารที่กล่าวมาข้างต้น (Material Properties) ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานพื้นที่ (Internal Load) ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของพื้นที่และการใช้งาน (Space Type) เพื่อพัฒนาให้เป็นแบบโมเดลสำหรับการประเมินพลังงาน (Energy Simulation Model) เพื่อใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ต่อไป
การประเมินประสิทธิภาพของอาคารด้วยการสร้างแบบจำลอง BIM นั้นเราสามารถทำได้ด้วยการสร้างแบบจำลองสำหรับการทดสอบ (Simulation Model) ขึ้นมาภายในคอมพิวเตอร์ ด้วยการอาศัยแบบจำลองโมเดล BIM ที่สร้างขึ้น ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการจัดทำแบบจำลองสำหรับการทดสอบขึ้นมาอีกครั้งเหมือนกระบวนการในลักษณะเดิม ทำให้สามารถลดขั้นตอนของการสร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบลงได้มาก โดยในการทดสอบนั้นเราสามารถทำการทดสอบได้ในหลายๆ ลักษณะด้วยกัน ดังนี้
1. Solar Study สำหรับการทำการทดสอบผลกระทบจากแสงอาทิตย์ด้วยการตรวจสอบเงาที่มีผลต่ออาคารทั้งภายในและภายนอก
2. Daylighting Analysis หรือการประเมินผลการใช้แสงธรรมชาติ
3. Solar Analysis สำหรับการประเมินผลความเข้มข้นของแสงที่มีผลกระทบต่อเปลือกอาคาร
4. Lighting Analysis สำหรับการวิเคราะห์แสงสว่างภายในอาคาร โดยจะเป็นการประเมินสภาพ
5. การประเมินประสิทธิภาพของอาคารในภาพรวม Building Performance Analysis ทั้งในแง่ของเปลือกอาคาร (Building Envelope) แผงบังแดด (Shading) เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผนังกับพื้นที่กระจก (WWR: Window-Wall-Ratio) การรั่วซึมของอากาศ (Infiltration) ภายนอกเข้ามาภายในอาคาร การประเมินประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศ HVAC
6. Wind Analysis การประเมินเรื่องของพลังงานลม ด้วยการนำโมเดล BIM ไปใช้สำหรับการวิเคราะห์ด้วยซอฟท์แวร์สำหรับการวิเคราะห์ประเภท CFD: Computation Fluid Dynamic
กล่าวโดยสรุปได้ว่ากระบวนการในการสร้างแบบจำลองสารสนเทศ BIM นั้นนอกเหนือจากที่จะเป็นการจำลองอาคารด้วยวิธีการสร้างโมเดล 3 มิติขึ้นมาแล้วนั้น แบบจำลองที่สร้างขึ้นยังมีประโยชน์สำหรับนำมาใช้ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของอาคารในลักษณะต่างๆ ก่อนอาคารนั้นจะนำไปสร้างจริง หรือจะนำไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ผลงานออกแบบที่พัฒนาออกมามีประสิทธิภาพและได้ความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
สนใจขอทราบรายละเอียดสามารถติดต่อได้ที่
บริษัท วี อาร์ ดิจิตอล จำกัด
154 ซอยสุขสันต์ ถ.สุรวงศ์ บางรัก กทม.10500
โทร: 662-267-6388-9
Email: info@vr-3d.com , sales@vr-3d.com
VR Digital Company Limited Founded 1993 as Vector Raster Technologies was established by Professional Architects as a Design Visualization / Presentation Drawings / Software Integration company
with experience in the Architecture, Engineering & Construction (AEC) and Media & Entertainment (M&E) fields for almost 30 years
ADDRESS: 154 Soi Suksan, Surawong Road, Si Phraya, Bangrak, Bangkok 10500, THAILAND
TEL. | +662 267 6388-9
FAX. | +662 233 5024
EMAIL | info@vr-3d.com
MON - FRI: 08:00 - 17:00